วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เปิดตำนานแฟรนไชส์เซเว่นฯ สาขาแรกในไทย

ครอบครัวแฟรนไชส์เซเว่น อีเลฟเว่น จากรุ่นสู่รุ่น

หากย้อนกลับไป เมื่อ 20 ปีที่แล้ว หลายคนคงจะจำกันได้ถึงร้านสะดวกซื้อรูปแบบดูทันสมัย เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นร้านอะไรไปไม่ได้นอกจากร้านสะดวกซื้อ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ที่จนถึงวันนี้แบรนด์ได้ติดตลาด ทุกเพศทุกวัยได้มีโอกาสเข้าใช้บริการ หรือฝากท้องยามหิว ภายใต้คอนเซ็ปต์ล่าสุด “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา” รวมถึงยังเป็นต้นแบบธุรกิจแฟรนไชส์ อันดับต้นๆ ของเมืองไทย ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

มาวันนี้แฟรนไชส์ร้านเซเว่นฯ สาขาแรก ก็ยังดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง ไม่แพ้สาขาที่ทางบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ลงทุนเอง รวมกว่า 18 ปีแล้ว ที่เจ้าของร้านโชวห่วยเล็กๆ แต่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ที่ต้องการจะปรับปรุงร้านให้ดูทันสมัย แข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้ ตัดสินใจขอร่วมธุรกิจแฟรนไชส์ ด้วยเงินลงทุนในยุคนั้นประมาณ 3 ล้านบาท

บรรยากาศหน้าร้านแฟรนไชส์เซเว่นฯ สาขาแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ซอยเพชรบุรี 5

บุญมี บุญยิ่งสถิตย์ หรือ เฮียมิ้ง เจ้าของแฟรนไชส์เซเว่น อีเลฟเว่น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เล่าว่า อดีตตนเองเป็นเจ้าของกิจการร้านโชวห่วยในซอยเพชรบุรี 5 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนมีผู้คนพลุกพล่าน ซึ่งกิจการก็ค่อนไปข้างไปได้ดี แต่ด้วยธรรมชาติของร้านโชวห่วยที่เจ้าของต้องขายของเองคนเดียว ต้องอยู่เฝ้าร้านตลอดเวลา เพราะหากปิดร้านก็ขาดรายได้ไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนสินค้าที่จัดวางก็ไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่ ดั้งนั้นการที่ลูกค้าต้องการสินค้าอะไร ก็ต้องผ่านมามือเจ้าของร้านเองทั้งหมด ซึ่งเฮียมิ้งบอกว่า พฤติกรรมดังกล่าวสุดท้ายแล้วก็ดูคล้ายกับ “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” ซึ่งยอมรับว่าเหนื่อยเหมือนกัน

จนกระทั่งมีร้านมินิมาร์ท มาเปิดใกล้กับร้านโชวห่วย ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจในแบบของพี่น้องที่ร่วมกันทำ ทั้งๆ ที่ไม่เคยทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านโชวห่วยมาก่อน ก็ได้รับความสนใจจากคนในละแวกนั้นเป็นอย่างมาก ด้วยรูปลักษณ์ที่เป็นร้านกระจก สะอาดสะอ้าน และจัดวางสินค้าได้อย่างเป็นระเบียบ

ครอบครัวทายาทธุรกิจพร้อมสานงานต่อ

“ในช่วงที่ ร้านเรามีคู่แข่ง ก็มีบริษัทฯ ซีพี เข้ามาติดต่อขอเซ้งร้าน แต่ยังไม่ได้แสดงตัว เพียงถามแค่ว่าทำร้านแบบนี้เหนื่อยไหม ซึ่งก็ตรงกับความคิดของเราที่ต้องการจะปรับปรุงพอดี เช่น ติดกระจก ติดแอร์ และมีเครื่องคิดเงินที่สะดวกรวดเร็ว แต่คงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ เนื่องจากขาดประสบการณ์ และเป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินไป สุดท้ายจึงตัดสินใจให้ทางบริษัทซีพี เซ้งร้านไป ในวงเงิน 10 ล้านบาท ซึ่งครอบครัวผมต้องย้ายออกไปภายใน 3 เดือน ซึ่งเมื่อเวลานั้นใกล้มาถึงจริงๆ สมาชิกในครอบครัวรู้สึกใจหาย ซึ่งภรรยาบอกว่าจริงๆ แล้วไม่อยากไปจากที่นี่ ผมจึงขอยกเลิกสัญญาโดยเสียค่าปรับไปประมาณ 50,000 บาท แต่วงจรชีวิตก็กลับมาในรูปแบบเดิมๆ คือ ยุ่งๆ เหนื่อยๆ สุดท้ายจึงตัดสินใจติดต่อเข้าไปที่บริษัทฯ อีกครั้ง เพื่อขอซื้อแฟรนไชส์ ทั้งๆ ที่ในช่วงนั้นทางซีพี ยังไม่ได้เปิดขายแฟรนไชส์ แต่ด้วยโมเดลธุรกิจร้านเซเว่นกว่า 27 สาขา ก็ถือว่าระบบส่วนใหญ่พร้อมแล้วสำหรับการรองรับธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ จนก่อเกิดเป็นร้านเซเว่น อีเลฟเว่น รหัส 0028 เพชรบุรี 5 ขึ้น”

บรรยากาศภายในร้าน

เมื่อแฟรนไชส์สาขาแรกเกิดขึ้น โดยมีเฮียมิ้งเป็นเจ้าของ ด้วยเงินลงทุน 3 ล้านบาท กลับกลายว่าความเหนื่อยจะลดน้อยลง ด้วยระบบที่ทันสมัย และพนักงานที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี รวมถึงมีเจ้าหน้าที่จากทางบริษัทฯ เข้าไปดูแลและให้คำปรึกษาอยู่ตลอดเวลา แต่เฮียมิ้งกลับ ยอมรับว่าในช่วง 3 เดือนแรก เหนื่อยมาก เหนื่อยกว่าตอนทำร้านโชวห่วยอีก ถึงขนาดเคยคิดว่าเลือกทางผิดหรือเปล่า จาก การที่ร้านต้องเปิดขายตลอด 24 ชั่วโมง จ้างพนักงาน ต้องเอาเงินไปจมกับสต็อกสินค้ากว่า 6 แสนบาท ในขณะที่มูลค่าสินค้าที่จัดวางภายในร้านประมาณ 4 แสนบาท

"รับขนมจีบ ซาลาเปาเพิ่มไหมคะ"

ปัจจุบันเฮียมิ้งได้ขยายสาขาแฟรนไชส์รวม 3 สาขาแล้ว โดยอาศัยกำไรที่ได้รับจากการบริหารสาขาแรกมาต่อยอด และล่าสุดได้ให้ลูกชาย และลูกสะใภ้ สานต่อกิจการนี้ คือนายสาธิต หรือ ฮุย ทายาทธุรกิจที่มารับช่วงต่อ แม้ว่าตนเองจะเรียนจบมาทางด้านคอมพิวเตอร์ แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการบริหารร้าน เนื่องจากคลุกคลีมากับร้านเซเว่น มาตั้งแต่เด็กๆ ทั้งจากร้านของตัวเอง และร้านที่ทางบริษัทซีพีลงทุนเอง
“ผมอาศัยความคุ้นเคยตั้งแต่เด็ก ที่ตอนทางบ้านยังไม่ได้เปิดร้านเซเว่น ก็มักจะไปอุดหนุนสเลอปี้ (Slurpy) อยู่บ่อยๆ และเมื่อรู้ว่าที่บ้านจะเปิดเป็นร้านเซเว่นเอง ก็รู้สึกดีใจ และพร้อมที่จะช่วยคุณพ่อดูแลร้านนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งสิ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมคือระบบ ที่ช่วงหลังมีการนำบาร์โค้ดเข้ามาใช้ รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แต่ทางบริษัทฯ ก็จัดให้มีการอบรมให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น”
อย่างไรก็ตามแผนการขยายสาขาต่อๆ ไป คงจะเป็นหน้าที่ของทายาทธุรกิจที่ต้องสานต่อ ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมความในเรื่องของบุคคลากรและมาตรฐานการบริการที่ดี โดยคาดว่าภายในปีหน้าจะเห็นร้านเซเว่น ของครอบครัว “บุญยิ่งสถิตย์” เพิ่มอีก 1-2 สาขา

ที่มา : manager online

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

“นุ้ย แอนด์ นุช” เกงเลสีสันแซ่บ ทุน 3 พันทะยานรายได้หลักแสน

กางเกงเล เน้นสีสันสดใส

หากมีไอเดียดี ประกอบมุ่งมั่นพยายามอย่างแท้จริง โอกาสแห่งความสำเร็จย่อมมีเสมอ อย่างธุรกิจกางเกงเลสีสันจัดจ้าน ในชื่อ “นุ้ย&นุช แปรรูปผ้าไทย” จากฝีมือคู่ซี้ อย่าง “พัสส์พร พิณพาทย์” (นุ้ย) และ “ปิยพรรณ พันธ์ไพศาล” (นุช) ที่ เริ่มต้นด้วยทุนแค่ 3 พันบาทวางขายแบกะดิน ค่อยๆพัฒนาทั้งด้านสินค้าและการตลาด ด้วยระยะเพียง 3 ปี ธุรกิจยืนได้อย่างแข็งแรง มีเงินหมุนเวียนหลักแสนต่อเดือน

พัสส์พร พิณพาทย์ (ซ้าย) และปิยพรรณ พันธ์ไพศาล

จุดเริ่มต้นธุรกิจ เกิดจากทั้งสองเป็นแค่แม่บ้านธรรมดาๆ ที่หลังจากส่งลูกไปโรงเรียนแล้วจะเหลือเวลาว่างมาก จึงอยากทำอาชีพเล็กๆ น้อยๆ เป็นรายได้เสริมช่วยเหลือครอบครัว ในที่สุดมาลงตัวที่จะตัดกางเกงเลออกขาย เพราะส่วนตัวพัสส์พรมีพื้นฐานการตัดเย็บอยู่บ้าง ประกอบกับเห็นว่า กางเกงเลเป็นที่นิยมของลูกค้าทั่วไปอยู่แล้ว

จุดขายเป็นลายผีเสื้อและดอกไม้

“พวกเราลงทุนครั้งแรกแค่ 2-3 พันบาทเท่านั้น ไปซื้อผ้ากันเอง โดยนุ้ย รับผิดชอบเป็นคนลงมือเย็บเองทั้งหมด ครั้งแรกทำแค่ 30 ตัว แล้วลองไปวางขายแบกะดินที่ตลาดนัด” ปิยพรรณ เล่า
ทว่า ความพยายามดังกล่าว ประสบความผิดหวังรุนแรง เพราะทั้งวันขายได้แค่ 3 ตัว เนื่องจากสินค้ายังขาดความโดดเด่น เป็นแค่กางเกงเลตัดเย็บด้วยผ้าพื้น กับผ้าถุงลายปาเต๊ะเหมือนๆ กับเจ้าอื่นทั่วไป

นำเศษผ้ามาทำเป็นบรรจุภัณฑ์

เมื่อรู้ปัญหา คู่ซี้พยายามพัฒนา โดยใช้ข้อแนะนำจากลูกค้ามาปรับปรุง ทว่า ผ่านไป 2-3 เดือน ยอดขายยังไม่กระเตื้องนัก จนเริ่มคิดยุติอาชีพนี้แล้ว กระทั่ง เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อไปพบผ้าลายผีเสื้อและดอกไม้สีสันสดใส ซึ่งในท้องตลาดเวลานั้น ยังไม่มีใครนำมาตัดเป็นกางเกงเล เกิดปิ๊งไอเดียรีบซื้อมาตัดออกขายทันที

ผลที่ตามมาแทบไม่น่าเชื่อ กางเกงเลสีสันจัดจ้าน ลายผีเสื้อและดอกไม้โดนใจลูกค้าอย่างมาก ยอดขายเพิ่มจากเดิมหลายเท่าตัว ยิ่งกว่านั้น ลูกค้าที่ซื้อไปแล้ว มักไปบอกต่อ ช่วยให้ได้ออเดอร์ตามมาต่อเนื่อง
“จุด เด่นมาจากลวดลายผ้า และสีที่โดดเด่นมาก ลูกค้าเห็นแล้วต้องสะดุดตา ทำให้ยอดขายดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ที่สำคัญทำให้เรา เริ่มจับทางที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้ รู้ว่าควรจะเดินต่อไปทางไหน ไม่เหมือนช่วงแรกๆ ที่ยังขาดจุดเด่นเฉพาะตัว” พัสส์พร ระบุ

กางเกงขาสั้น

ปิยพรรณ เล่าว่า ระยะเวลาเพียง 5 -6 เดือน นับจากเริ่มทำออกขาย ธุรกิจสามารถตั้งลำได้อย่างจริงจัง ซึ่งก้าวที่ท้าทายต่อมา คือ พัฒนาสินค้าให้ได้ทั้งคุณภาพดี และดีไซน์หลากหลายยิ่งขึ้น โดยในเรื่องผ้าเจาะจงใช้ผ้าฝ้าย 100% สั่งตรงจากโรงงาน เพื่อให้ได้ลวดลาย และคุณภาพผ้าที่ดีตามต้องการ คุณสมบัติใส่สบาย ซักแล้วไม่หด และสีไม่ตก

กระโปรง

นอกจากนั้น การผลิตเปลี่ยนจากทำเองคนเดียวทั้งหมด ได้ชักชวนแม่บ้านและผู้สูงอายุในชุมชนกว่า 10 คน ที่มีพื้นฐานการตัดเย็บอยู่แล้วเข้ามาเป็นแรงงาน
ส่วนดีไซน์ว่าจ้างมืออาชีพมาช่วยเหลือ เพิ่มเติมแบบใหม่เสมอ รวมแล้วถึงปัจจุบัน มีกว่า 10 รายการ เช่น กางเกงเลขาสั้น – ยาว กระโปรง เสื้อ เป็นต้น ราคามีตั้งแต่ 250-350 บาท มีขนาดให้เลือกตั้งแต่เอว 30 นิ้วไปถึง 40 นิ้ว โดยไอเดียการออกแบบส่วนใหญ่จะได้จากคำแนะนำของลูกค้า ประกอบกับตามติดกระแสแฟชั่น อย่างไรเสีย คงรักษาเอกลักษณ์ใช้ผ้าสีสด และลายผีเสื้อและดอกไม้เช่นเดิม

จุดเด่นที่สำคัญ อีกประการ ได้นำเศษผ้าเหลือทิ้ง มาใช้ประโยชน์ทำเป็นบรรจุภัณฑ์ โดยตัดเป็นกระเป๋าหิ้วใส่กางเกงเล แล้วขายในราคาเท่าเดิมไม่มีบวกเพิ่ม ซึ่งไอเดียนี้ ช่วยเพิ่มคุณค่าสินค้า ผู้ซื้อรู้สึกคุ้มค่า โดยไม่ต้องลงทุนมาก เพิ่มเติมแค่ค่าจ้างเย็บ ใบละ 3 บาทเท่านั้น

อีกด้านที่ช่วยให้กางเกงเลของสาวคู่ซี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง คือ ความพยายามเดินเข้าหาหน่วยงานราชการ เพื่อผลักดันให้สินค้าได้เป็นโอทอปของ จ.นนทบุรี ภายใต้ชื่อ แบรนด์ “นุ้ย&นุช แปรรูปผ้าไทย” ซึ่งกว่าจะสำเร็จใช้เวลาร่วมปี แต่ผลที่กลับมาคุ้มแสนคุ้ม เพราะมีโอกาสไปออกบูทตามงานโอทอปต่างๆ เสมอ เฉลี่ยมากกว่า 4 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถือเป็นช่องทางขายอย่างดี และยังเปิดโอกาสให้ได้พบผู้สนใจเป็นตัวแทนสั่งซื้อสินค้าไปขายต่ออีกด้วย

สำหรับกลุ่มลูกค้าของกางเกงเล “นุ้ย&นุช แปรรูปผ้าไทย” ส่วนใหญ่จะเป็นสาววัยรุ่นถึงวัยทำงาน รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยช่องทางตลาด มีหน้าร้านประจำขายวันเสาร์และอาทิตย์ที่ตลาดบางน้ำผึ้ง ย่านพระประแดง และออกบูทตามงานโอทอปต่างๆ
ในส่วนปัญหานั้น ปิยพรรณ ชี้ไปที่การรักษาคุณภาพสินค้าให้สม่ำเสมอ เนื่องจากต้องผลิตในปริมาณมากๆ กระจายงานให้หลายคน การดูแลคุณภาพจึงยากเป็นเงาตามตัว ดังนั้น ใช้วิธีลงไปตรวจสอบด้วยตัวเองทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันยอมลงทุนใช้ผ้าคุณภาพดีเป็นฝ้าย 100% แม้ต้นทุนผลิตจะสูงกว่า 50% ของราคาขายปลีก แต่อาศัยขายในปริมาณมาก อีกทั้ง การเลือกที่จะรักษาคุณภาพมากกว่ากำไรสูง กลายเป็นผลดีในระยะยาว ที่แม้จะมีเจ้าอื่นๆ เลียนแบบลวดลายและดีไซน์ แต่สุดท้ายลูกค้ายังนิยมเลือกสินค้าของ “นุ้ย&นุช แปรรูปผ้าไทย” เพราะคุณภาพผ้าที่ดีกว่า

พัสส์พร เผยว่า ระยะเวลา เพียง 3 ปีจากวันแรกที่เริ่มทำขาย ด้วยทุนก้อนแรกแค่ 2-3พันบาท ปัจจุบัน ธุรกิจมีเงินหมุนเวียนหลักแสนบาทต่อเดือน ยอดขายเฉลี่ยกว่า 2-3 พันตัวต่อเดือน และยังช่วยสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่ม10 กว่าคน เฉลี่ยคนละ 5 พันบาทต่อเดือน
“ลอง คิดย้อนกลับไป มันก็เป็นความภูมิใจ จากที่คิดทำกันเล็กๆ ก็มามีวันนี้ได้ ทั้งที่ตอนแรกขายไม่ดีเลย ยอมรับว่า ท้อมาก คิดอยากเลิกแล้ว แต่ก็ลองฮึดอีกครั้ง มันก็กลับมาขายดีอย่างไม่น่าเชื่อ จนทำกันไม่ทัน” พัสส์พร กล่าว
ขณะ ที่ ปิยพรรณ เสริมว่า สิ่งสำคัญของคนทำธุรกิจ คือ เอาใจใส่ดูแลลูกค้า อย่าคิดเรื่องกำไรเป็นเป้าหมายแรก แต่ขอให้ผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพดี พัฒนารูปแบบเสมอ และขายในราคาเหมาะสม สุดท้ายผลกำไรจะตามกลับมาหาเอง

@@@@@@@@@@@@@
โทร.08-1431-3278 , 08-6886-0909

ที่มา : ผู้จัดการ

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ต้นกำเนิดเนเจอร์กิฟ

โลโก้ เนเจอร์กิฟ

แบรนด์เพื่อสุขภาพที่แท้จริง
ชื่อ เนเจอร์กิฟ เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 7 ปีแล้ว จากผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีใครปฏิเสธในคุณภาพของผลิตภัณฑ์เนเจอร์กิฟอันยอดเยี่ยม และตั้งแต่วันนั้นที่เราได้รู้จักกับ กาแฟเพื่อสุขภาพ จนถึงวันนี้ที่ทุกคนรู้จักชื่อนี้กันเป็นอย่างดี
เส้น ทางจากจุดเริ่มต้นเป็นมาอย่างไร กว่าจะมาถึงในวันนี้ที่ไม่มีใครไม่รู้จักชื่อนี้ วันนี้ เราจะได้มาคลายข้อสงสัยนี้กัน โดยผู้ริเริ่ม ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์ แนวคิดกาแฟสุขภาพจะมาไขข้อข้องใจเอง

ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์
ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์ ผู้ริเริ่ม แนวคิดกาแฟเพื่อสุขภาพเนเจอร์กิฟ

อยากให้เล่าถึงความเป็นมาของแบรนด์ เนเจอร์กิฟ ว่าเริ่มมาจากแนวคิดอะไร
จุด เริ่มต้นก็คือผมเป็นโรคภูมิแพ้มาตั้งแต่ไหนแต่ไร จึงเริ่มศึกษาปัญหาสุขภาพของผู้คนในสังคม ในที่สุดก็รู้ว่า ปัญหาสุขภาพของผู้คนในปัจจุบันเกิดจากการกินอาหารที่ไม่มีคุณภาพนั่นเอง เพราะวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ตลอดจนกระบวนการผลิตอาหารที่ทำลาย วิตามิน เกลือแร่ และการเกษตรกรรมที่ให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ เมื่อผู้คนกินแต่อาหารที่ไม่มีคุณภาพติดต่อกันนานวันเข้า ร่างกายก็อ่อนแอลง อวัยวะบางอย่างก็ทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรัง หลายอย่าง เช่น โรคอ้วน หัวใจ จนไปถึงมะเร็งบางชนิดเป็นต้น
ผมจึงตั้งมโนปณิธานขึ้นว่า “เราต้องช่วยผู้คนนับล้านคน ให้พ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ”
จน มาปี 2544 ครอบครัวของผมจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทขึ้นมา ชื่อ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดีเค เฮ็ลธ โปรดัคท์” และได้เริ่มต้นผลิตอาหารเสริมบรรจุ แคปซูล ออกจำหน่าย ภายใต้ชื่อว่า “เนเจอร์กิฟ”
ปลายปี 2546 ผมก็ได้ทดลองชงกาแฟให้เพื่อนๆ ชิมหลายคนบอกว่าอร่อยมากน่าทำขาย และเพื่อให้เป็นกาแฟเพื่อสุขภาพ ได้เติมวิตามิน เกลือแร่ ลงไปในกาแฟ 3 in 1 นั้น และนำออกจำหน่าย ในเดือน มกราคม 2547 เป็นกาแฟเพื่อสุขภาพ NatureGift Coffee Plus ที่สามารถลดความอ้วนได้ เป็นยี่ห้อแรก
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การแข่งขันในตลาดกาแฟลดความอ้วนนี้เป็นอย่างไร แล้วเรารับมืออย่างไรกับการแข่งขันนี้
การ แข่งขัน ช่วงเริ่มต้นในปี 2547 ก็ขายไปเรื่อยๆ ไม่ได้คิดว่าจะขายได้มากมายอะไร การโฆษณาก็มีน้อย คู่แข่งก็ไม่มี ปี 2548 เริ่มโฆษณาในนิตยสารต่างๆ ยอดขายก็เพิ่มขึ้นมาก คู่แข่งก็เริ่มเกิดในปี 2549 แต่เราก็ไม่ได้กังวลอะไร เรายังคงขยายแนวการโฆษณาอย่างต่อเนื่อง เราเริ่มลงโฆษณาใน TV ปลายปี 2550 และทำอย่างต่อเนื่อง ในปริมาณที่มากขึ้นทิ้งห่างคู่แข่งออกไปเรื่อยๆ

ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์
ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์ ผู้ริเริ่ม แนวคิดกาแฟเพื่อสุขภาพเนเจอร์กิฟ

อะไรคือจุดแข็งของผลิตภัณฑ์เนเจอร์กิฟที่ทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นที่ 1 ในตลาดกาแฟลดความอ้วน
เราเป็นคนแรก และยี่ห้อแรก ที่ผลิตและจำหน่าย กาแฟลดความอ้วน เมื่อไม่มีคู่แข่ง เราจึงเป็นที่หนึ่งตลอดมา
บทเรียนสำคัญที่ผ่านมาในการดำเนินธุรกิจนี้มีอะไรบ้าง
แม้ ปัจจุบันจะมีคู่แข่งเกิดขึ้น หลายสิบยี่ห้อ แต่เราก็ยังครองตลาดเป็นอันดับ 1 ก็เพราะเรามีนวัตกรรมที่ไม่มีใครเหมือน เป็นผู้เชี่ยวชาญตัวจริง เห็นผล ลดจริง เป็นแสนๆ คน
สิ่งที่ทำให้เนเจอร์กิฟก้าวขึ้นมาเป็นที่ 1 ในตลาดกาแฟลดความอ้วนคืออะไร
เนื่อง จากเรามีปณิธานที่จะช่วยคนนับล้านคนให้พ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ จากความอ้วน เรามองไปที่เป้าหมายนั้นอย่างเดียว ดังนั้น เราจึงต้องทำสินค้าให้มีคุณภาพสูงสุด ในราคาที่ผู้คนส่วนใหญ่มีกำลังหาซื้อได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น
เนเจอร์กิฟมีการทำกิจกรรมทางการตลาด และเพื่อสังคมมาตลอด อยากให้ลองยกตัวอย่างมาว่ามีอะไรบ้างและทำไมถึงอยากทำกิจกรรมเหล่านี้
เนเจอร์กิฟได้ทำกิจกรรมหลายอย่างเพื่อสังคม เช่น แจกทุนการศึกษา การบริจาคที่ดิน เพื่อฟื้นฟูศีลธรรม แก่ชาวโลก
เนื่อง จากเด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติ เนเจอร์กิฟจึงต้องการช่วยให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง ทั้งทางด้านวิชาการ และทางด้านศีลธรรม ในปี 2551 เนเจอร์กิฟได้แจกทุนให้แก่เยาวชนไป 82 ทุนๆ ละ 12,500 บาท รวมเป็นเงิน 1,025,000 บาท
ในปี 2552 เนเจอร์กิฟ แจกทุนเพิ่มเป็น 100 ทุนๆ ละ12,500 บาท รวมเป็นเงิน 1,250,000 บาท
เมื่อเด็กมารับทุน ก็จะมีการสอน ให้เป็นคนดี เป็นคนมีศีลธรรม และแนะวิธีการทำสมาธิ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เด็กในอนาคต
ยิ่ง กว่านั้น ก็ยังได้บริจาคที่ดินจำนวน 555 ไร่ ในจังหวัดลพบุรี ที่ได้สร้างและพัฒนาขึ้นมา จนร่มรื่นสวยงาม ให้เป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา เพื่อใช้ประชุมสงฆ์ ซึ่งธรรมศาลาที่สร้างขึ้น สามารถจัดประชุมสงฆ์ได้ถึง 5,000 รูป อีกทั้งได้จัดงานตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 10,000 รูป กลางทุ่งทานตะวัน หน้าศูนย์อบรมเยาวชน – ลพบุรี 4 แยกวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ในเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม ทุกปี เพื่อกระตุ้นให้คนหันมาทำบุญตักบาตร กลับไปสู่ยุคปู่ย่า ตายาย ที่ผู้คนส่วนใหญ่มีความสุขกาย สุขใจ
ที่ดิน 555 ไร่ นี้ได้จัดสร้างเป็นศูนย์อบรมเยาวชน – ลพบุรี จะมีเด็กนักเรียนเข้ามาอบรมศีลธรรม และฝึกทำสมาธิเป็นประจำ โดยแต่ละเดือน ดร.กฤษฎา จะเป็นผู้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่ายาม และเงินเดือนผู้จัดการศูนย์ให้
สิ่งที่เนเจอร์กิฟจะทำต่อไปอย่างต่อเนื่องคืออะไร
มุ่งสู่เป้าหมาย “ช่วยคนนับล้านคน ให้พ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ”
ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเนเจอร์กิฟยังคงครองความเป็นอันดับหนึ่งได้...
www.naturegift.co.th

ที่มา : woman

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เครปเย็น ธุรกิจใหม่ถูกใจวัยโจ๋

image

อาหารญี่ปุ่นและขนมญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมจากคนไทย-วัยรุ่นไทย และมีการพัฒนาเมนูหนึ่งขึ้นมา เรียกว่า “เครปญี่ปุ่น” โดยปรับสูตรเป็น “เครปร้อน” ตัวแป้งจะกรอบ ไส้เหมือนที่ใส่ในขนมปัง ทำเสร็จต้องทานทันทีมิฉะนั้นจะไม่อร่อย ขณะที่ “เครปเย็น” แบบญี่ปุ่น แป้งจะเหนียวนุ่มและมีความยืดหยุ่นสูง สามารถ ใช้ส่วนผสมของไส้เย็น ประเภทผลไม้สด ครีมสด ไอศกรีมชนิดต่าง ๆ ฯลฯ เข้ามาผสมได้อย่างลงตัวพอดี ๆ ซึ่งวันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” มีสูตรการทำเครปเย็นมานำเสนอให้ลองพิจารณา...
กัญชญาษร จุฑาพานิช หรือ “มุ่ย” เป็นเจ้าของหุ้นส่วนธุรกิจอิชิเครปเย็น เจ้าตัวเล่าถึงจุดเริ่มต้นของธูรกิจนี้ว่า ไป เที่ยวญี่ปุ่น เห็นมีร้านขายเครปชนิดนี้อยู่เยอะ แต่ละร้านจะขายดี มีการต่อคิวซื้อกันเป็นจำนวนมาก ก็สนใจ พอได้ชิมก็ชื่นชอบในรสชาติ ขอนามบัตรจากทุกร้าน เมื่อกลับมาก็คุยกับเพื่อนสนิทว่าอยากจะลองทำธุรกิจตัวนี้ดู เมื่อตกลงเข้าหุ้นกันเรียบร้อยแล้ว จึงติดต่อขอซื้อสูตรจากญี่ปุ่น
“พอกลับมาก็ลองทำฝึกทำดู โดยการหาซื้อวัตถุดิบภายในประเทศ ซึ่งราคาถูกกว่า ทำให้สามารถขายได้ในราคาถูกกว่าของญี่ปุ่นหลายเท่า เครป สูตรดั้งเดิมรสชาติจะจืด ๆ ไปหน่อย เพราะคนที่โน่นเขาไม่ทานรสจัด พอเราทำขายในเมืองไทยจึงต้องมีการปรับปรุงรสชาติให้เข้มข้นขึ้น ดัดแปลงรสชาติหรือไส้ให้มีหลากหลายชนิด กว่าจะลงตัวก็ใช้เวลาพอสมควร ตอนนี้มีกว่า 20 รสชาติ เพื่อรองรับลูกค้าทุกกลุ่มทุกวัย เช่น เยลลี่, คุกกี้, โอริโอ้, คอนเฟลก, ไอศกรีมรสต่าง ๆ หรือผลไม้ตามฤดูกาลก็นำมาใช้ได้”

เครปเย็น, อาหาร, อาหารญี่ปุ่น, สูตรอาหาร, เครป, ice crepe

มุ่ยบอกว่า ลูกค้าจะได้ซื้อในราคาที่ไม่แพง เป็นราคาขายที่คำนวณจากต้นทุน ลูกค้าสามารถเลือกหน้าผสมได้ตามใจชอบ สำหรับเมนู ยอดฮิต ได้แก่ กล้วยหอม + สตรอเบอรี่ ครีมสด (วิปปิ้งครีม), ราดซอสช็อกโกแลต / โอรีโอ้ + ครีมสด / กล้วยหอม + ช็อกโกแลต / เค้ก + ครีมสด / มะม่วง+ ครีมสด / คอนเฟลก + ครีมสด / กีวี่+สตรอเบอรี่ / ปีโป้ + ครีมคัสตาร์ท / แบล็กเคอเรน+ ครีมคัสตาร์ท / โกโก้ครั้นซ์ + ครีมสด / กล้วยหอม + ครีมใบเตย / อัลมอนด์สไลด์ ฯลฯ ซึ่งทุกหน้าจะราดด้วยซอสช็อกโกแลต, ซอสสตรอเบอร์รี่
เทคนิคความอร่อย นอกจากตัวแป้งที่นุ่มเหนียว หน้าที่ใส่ก็สำคัญ อย่างผลไม้สดจะแช่เย็นไว้รอใช้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำขายก็มี... แผ่นกระทะเหล็กแบน 14 นิ้ว (เตาสำหรับทำเครป), ไม้เกลี่ยหรือไม้หมุนแป้ง, เกรียงแซะแป้ง, ไม้ปาด (สปาตูล่า), ทัพพีกลม, มีด, เขียง, ถาดสแตนเลส, พัด, ตะเกียบยาว ๆ (สำหรับช้อนแป้งขึ้น) กระดาษห่อหรือกรวยกระดาษสำหรับใส่เครป
ส่วนผสมของแป้งก็มี... แป้งสาลี 4 ถ้วยตวง, ไข่ไก่ 4 ฟอง, เนยละลาย 200 กรัม, นมสด 500 กรัม และน้ำสะอาด 250 กรัม น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ เกลือหยิบมือ และกลิ่นวานิลาสังเคราะห์นิดหน่อย
ขั้นตอนการทำแป้ง “เครปเย็น” เริ่มจากร่อนแป้งก่อน พักไว้ ทำการตีไข่ผสมนมสดหนึ่งส่วน ใส่น้ำตาล เกลือ และนมสดที่เหลือจนหมด จากนั้นค่อย ๆ ใส่แป้งที่ร่อนในเครื่องปั่นให้เข้ากัน เติมเนยละลายทีละน้อย ๆ จนหมด ปั่นต่อไปอีก 10 นาที ใส่น้ำสะอาดและกลิ่นวานิลา คนให้ส่วนผสมแป้งเข้ากันดี สังเกตว่าแป้งเนียนดีแล้ว เทใส่ภาชนะนำเข้าตู้เย็นประมาณ 2 ชั่วโมง
เมื่อต้องการทำ เป็นเครป รอให้กระทะร้อนจนทั่ว ตักแป้งเทลงไปตรงกลาง เกลี่ยแล้วหมุนวนไปทางเดียว เกลี่ยแป้งให้เสมอกัน ใช้ไฟปานกลาง พอแป้งสุกใช้เกรียงแซะออกมาวางลงถาด พักให้เย็น นำวิปปิ้งครีมมาป้าย 1 ใน 5 ส่วน ใส่หน้าที่ต้องการ สตรอเบอร์รี่ผ่าเป็นสองซีก ส่วนกล้วยปอกเปลือกหั่นเป็นแว่นจัดให้สวยงาม ราดซอสเป็นการตบท้าย พับแป้งอีกให้คล้ายกรวย จากนั้นนำกระดาษหรือกรวยที่เตรียมไว้มาห่อ
ราคาขายเริ่มตั้งแต่ 40 บาท จนถึง 65 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับการผสมหน้าที่ใส่)

เครปเย็น, อาหาร, อาหารญี่ปุ่น, สูตรอาหาร, เครป, ice crepe

“เครปเย็น” เจ้านี้ มีขาย 3 สาขา คือที่ชั้นใต้ดินศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว, บิ๊กซีราชดำริ, เดอะมอลล์บางกะปิ และ รับออกงานเลี้ยงต่าง ๆ โดยติดต่อมุ่ยได้ที่ โทร.08-1399- 6272, 08-6893-5599 และตอนนี้ทางร้านก็กำลังศึกษาเรื่องแฟรนไซส์อยู่ อีกทั้งประมาณปลายปีนี้จะออกหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจเครปเย็น เริ่มตั้งแต่การเลือกวัสดุ ขั้นตอนการทำอย่างละเอียด วิธีการเปิดร้าน การดูทำเลขาย และการทำธุรกิจให้ก้าวหน้าด้วย
เชาวลี ชุมขำ :รายงาน / สุรเชษฎ์ วัชรวิศิษฎ์ :ภาพ
คู่มือลงทุน...เครปเย็น
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 60,000 บาท
ทุนวัตถุดิบ ประมาณ 70% ของราคา
รายได้ ราคาชิ้นละ 40-65 บาท
แรงงาน 1-2 คนขึ้นไป
ตลาด ย่านอาหาร, ย่านวัยรุ่น
จุดน่าสนใจ คนไทยรุ่นใหม่ ๆ นิยมทาน

ที่มา : Woman

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ศิริชัยไก่ย่าง

alt “ศิริชัยไก่ย่าง” มั่นใจเดินหน้าเติบโตแบบพอเพียง เร่งเสริมบริการรอบด้าน ทั้งเดลิเวอรี่อาหารตามสั่ง อาหารปิ่นโต รับจัดเลี้ยง อาหารกล่อง พร้อมรุกใช้สื่อออนไลน์ส่งผลกระแสตอบรับดีเกินคาด อนาคตเล็งเปิดบริการ “คอฟฟี่ เบรค-ค็อกเทล” เสริม
นางนันทวัน ทองจิรโชติ และนางสาวพนมกร วุฒิกร ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริชัยไก่ย่าง ร่วมกันเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจุบันศิริชัยไก่ย่าง นอกจากจะให้บริการอาหารไทย จีน อีสานใน 2 สาขาคือลาดพร้าว และรัชดา 37 แล้ว ยังให้บริการส่งอาหารถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ ทั้งอาหารตามสั่ง และอาหารปิ่นโต นอกจากนี้ยังมีบริการจัดเลี้ยงทั้งในและนอกสถานที่ รวมถึงบริการจัดทำอาหารกล่อง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยมีลูกค้าทั้งกลุ่มบริษัท หน่วยราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จากเดิมกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มครอบครัว ทางร้านได้ปรับรูปแบบของอาหารและบริการ ทั้งเมนูอาหาร การตกแต่งร้าน ภาชนะอาหาร ที่เน้นความทันสมัย สวยงามด้วย

image


“จุดเด่นของศิริชัยไก่ย่างคือราคาอาหารไม่แพง และมีรสชาติที่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะไก่ย่าง ซึ่งเป็นเมนูขึ้นชื่อ นอกจากนี้ทางร้านยังมีการปรับเปลี่ยนอาหารให้มีความทันสมัย เหมาะกับความต้องการของลูกค้า ทั้งอาหารตามสั่งที่ลูกค้าหลักได้แก่ กลุ่มพนักงานบริษัทต่างๆ อาหารปิ่นโตสำหรับกลุ่มครอบครัว รับจัดเลี้ยงสำหรับกลุ่มองค์กร ครอบครัวที่มีงานเลี้ยง ทำบุญ อาหารกล่องสำหรับกลุ่มประชุมสัมนา ซึ่งแต่ละกลุ่มได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

หากเป็นบริการอาหารตามสั่งหรืออาหารปิ่นโต มียอดลูกค้าเฉลี่ย 20-30 รายต่อวันต่อสาขา ขณะที่อาหารปิ่นโตเฉลี่ย 40-50 รายต่อวัน ส่วนบริการจัดเลี้ยงและอาหารกล่องในช่วงปีที่ผ่านมามียอดเติบโตเยอะมาก และเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตมากที่สุด ซึ่งทางร้านเองต้องพยายามเพิ่มการให้บริการที่ครบครันยิ่งขึ้น


นางสาวพนมกร กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางร้านมีการจัดทำสื่อต่างๆ ต่อเนื่อง โดยสื่อหลักเป็นการแจกโบรชัวร์ และใบปลิว เพื่อเชิญชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการซึ่งผลตอบรับดีในระดับหนึ่งเพราะสามารถ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในย่านลาดพร้าว รัชดาฯ ได้มากขึ้น แต่เมื่อหันมาใช้บริการสื่อออนไลน์ โดยมีการจัดทำเว็บไซต์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ ทำให้ได้ฐานลูกค้าใหม่ๆ และเป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น โดยเห็นได้จากกลุ่มลูกค้าที่โทรเข้ามาเพื่อสั่งจองบริการจัดเลี้ยง หรืออาหารกล่อง โดยพบว่าลูกค้าเกือบ 90%มาจากการรับข้อมูลข่าวสารทางสื่อออนไลน์


“ทางร้านไม่มีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่ม เพราะมองว่าการมี 2 สาขาและเป็นองค์กรแบบเอสเอ็มอี ทำให้สามารถปรับตัวได้ง่าย ตามที่ลูกค้าต้องการ จึงเป็นจุดแข็งที่ทางร้านมี เมื่อเทียบกับร้านค้าอื่นๆ โดยเฉพาะร้านค้าที่มีเชนหลายสาขา ดังนั้นในระยะเวลาอันใกล้จึงไม่มีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่ม แต่จะมุ่งเน้นการบริการให้พร้อมและสามารถรองรับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาให้ดี ยิ่งขึ้น และในอนาคตจะมีบริการใหม่ คือการรับจัดอาหารว่างหรือคอฟฟี่ เบรค และค็อกเทล สำหรับงานเลี้ยง งานปาร์ตี้ ประชุม สัมมนาต่างๆ”
โดยรูปแบบของบริการคอฟฟี่ เบรค และค็อกเทล ได้เริ่มให้บริการในร้านแล้ว และจะเดินหน้าปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถเปิดบริการได้ในปีหน้า สำหรับผลประกอบการของร้านในปีนี้คาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น 10-15% แม้ในช่วงที่ผ่านมาจากเศรษฐกิจและปัญหาต่างๆ จะทำให้ยอดขายภายในร้านลดลงเฉลี่ย 5% แต่พบว่ายอดขายจากเดลิเวอรี่และจัดเลี้ยงเติบโตขึ้น 10-15% ส่วนในปีหน้าคาดว่าจะมียอดขายเติบโตขึ้นเฉลี่ย 10% ทั้งบริการเดลิเวอรี่และจัดเลี้ยง

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

“Red Carpet Shoes” บูํ๊๊ตถักมือ

เมื่อ มีเวลาว่าง จึงหยิบจับเข็มถักโครเชต์ขึ้นมาสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์หลากหลายรายการ จนกระทั่งมาถึงผลิตภัณฑ์รองเท้าบู๊ต ที่คิดค้นรูปแบบขึ้นด้วยตัวเอง ความแปลกตา สวย ไม่ซ้ำ หลายคนเห็นต่างชื่นชม พร้อมแนะนำให้ผลิตจำหน่าย ก่อเกิดรายได้ ภายใต้ยี่ห้อ “Red Carpet Shoes”

ความคิดต่าง สามารถสร้างสิ่งใหม่ ก่อเกิดความภูมิใจต่อผู้ผลิต ซึ่งหากนำผลงานเข้าสู่กระบวนการทางการตลาด ย่อมส่งผลตอบแทนเป็นรายได้ อันนำมาสู่คุณภาพชีวิตที่ดี

ดังเช่นผู้ประกอบการหญิงจะกล่าวถึง เธอมีความคิดต่างไปจากผู้อื่น ซึ่งความคิดนี้ เกิดเพราะความชอบเครื่องแต่งกายประเภทรองเท้า แต่สินค้าซึ่งมีรูปแบบซ้ำ วางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปหาได้ถูกใจ เหตุนี้ จึงคิดผลิตรองเท้าเพื่อสวมใส่ด้วยตัวเอง

งานอดิเรกสร้างรายได้

บู๊ตถักมือ สวยไม่ซ้ำใคร

คุณรัญชนา พิมดี อายุ 48 ปี เจ้าของผลิตภัณฑ์รองเท้าบู๊ต ภายใต้ยี่ห้อ “Red Carpet Shoes” คือหญิงสาวซึ่ง เส้นทางเศรษฐี จะกล่าวถึง เธอเล่าให้ฟังถึงจุดเกิดอาชีพ นั้นสืบเนื่องจากเมื่อครั้งหยุดกิจการร้านถ่ายภาพซึ่งดำเนินมาราว 6 ปี ซึ่งเป็นจังหวะพอดีกับกำลังตั้งครรภ์

เวลาว่างจึงหันมาหยิบจับงานอดิเรก ด้านเย็บปักถักร้อย โดยเฉพาะการถักโครเชต์ ซึ่งคุณรัญชนาสามารถถักร้อยเส้นไหมสร้างผลงานหลากหลายประเภท จวบจนคิดถึงรองเท้า หากนำวัสดุเช่นเดียวกันมาประดิษฐ์ ความโดดเด่นแปลกตาย่อมเกิดขึ้น และแน่นอนว่าไม่ซ้ำใคร เหตุนี้จึงนำไหมพรมถักทดแทนผืนหนังรองเท้า

คุณรัญชนาใช้เวลาคิดคำนวณรูปแบบ ตลอดจนทดลองลงมือผลิตเนิ่นนาน กว่าจะเป็นรูปร่างอย่างใจปรารถนา ด้วยเพราะเปิดตำราเล่มไหนๆ ไม่พบวิธีทำ อันจะนำมาเป็นตัวอย่าง

“ตอนแรกทำรองเท้าส้นเตี้ย เหมาะสวมใส่เวลาท้อง แต่พอคลอดลูก เริ่มทำรองเท้าส้นสูง และด้วยเป็นคนชอบใส่บู๊ตมาก แต่ปัญหาคือ ถ้าทำจากหนังจะร้อนอบเท้า หรือถ้าเก็บไว้นานแผ่นหนังหลุดลอก ซึ่งตอนแรกใช้ไหมพรม แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง จึงเปลี่ยนเป็นเส้นไนล่อนฟอกนิ่ม สามารถระบายอากาศได้ดี มีความยืดหยุ่น ซักน้ำได้ ไม่เสียรูปทรง”

หลังทำสวมใส่ไม่นาน ญาติพี่น้อง เพื่อนผู้รู้จัก ต่างทักด้วยความชื่นชม และขอให้ช่วยผลิตให้บ้าง พร้อมกันนั้นยังเสนอแนะเข้าสู่ระบบจัดจำหน่าย เพราะเชื่อว่าความแปลกตา คุณภาพสินค้า จะนำมาซึ่งรายได้

คุณรัญชนาเก็บคำแนะนำกลับมานั่งคิดทบทวน จึงเริ่มมองเห็นช่องทาง แต่ลำพังแรงงานผลิตเพียงคนเดียวมิอาจเพียงพอ จึงเริ่มจัดตั้งทีมงาน โดยมองหากลุ่มแม่บ้าน ซึ่งรับงานประดิษฐ์ด้านเย็บปักถักร้อยอยู่ก่อนแล้ว จากนั้นเข้าไปติดต่อเจรจาตกลงกติกาจัดจ้าง

“ขั้นตอนผลิตค่อนข้างพิถีพิถัน ต่อคู่ใช้เวลา 3-4 วันจึงแล้วเสร็จ จึงต้องหาทีมงานเข้ามาช่วย โดยกลุ่มผู้ผลิตมีสมาชิกรวมตัวกัน 10-15 คน ในพื้นที่ต่างจังหวัด เขารับทำงานถักโครเชต์อยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ผลิตภัณฑ์แตกต่างกันไป อาทิ กระเป๋า หมวก เสื้อ ส่วนรองเท้ายังไม่มีใครสั่งทำ เมื่อนำแบบไปให้ดู สอนกรรมวิธีคร่าวๆ เท่านี้สามารถเข้าใจได้ง่าย ส่วนค่าตอบแทนกำหนดให้เป็นรายชิ้น”

คุณรัญชนา ว่า น้ำหนักมือมีส่วนสำคัญต่อคุณภาพและความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ฉะนั้น นอกจากผู้ผลิตมีฝีมือด้านงานถักโครเชต์ ยังต้องให้ความใส่ใจรายละเอียดของรองเท้าแต่ละข้างต้องสม่ำเสมอเหมือนกัน ดังนั้น รองเท้า 1 คู่ควรใช้ผู้ผลิตคนเดียวกัน

เลือกผู้ผลิตเป็นงาน

สองสไตล์ใส่ลูกเล่น

ผู้ประกอบการคนขยัน ยังกล่าวถึงเหตุผลด้านแรงงานผลิตเพิ่มเติมว่า “หากจะฝึกคนซึ่งไม่เคยจับเข็มมาก่อน ต้องใช้เวลานานมาก แต่กับผู้เป็นแล้ว สอนเขานิดหน่อย สามารถเข้าใจในทิศทางเดียวกัน จังหวะลงเข็มรวมถึงน้ำหนักมือสม่ำเสมอ ที่สำคัญ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปตรวจสอบสินค้า ทำเสร็จ ให้เขาส่งกลับมาได้เลย”

ถามถึงวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ เส้นด้ายไนล่อนฟอกนิ่ม โดยแหล่งจำหน่ายย่านสำเพ็ง กับราคาขายกิโลกรัมละ 500-600 บาท นอกจากนั้น ยังมีเส้นด้ายธรรมชาติ อย่าง ใยกันชง ซึ่งมีคุณสมบัติเหนียวนุ่ม ไม่อับชื้น สวมใส่สบายเท้า ส่วนเส้นฝ้าย โดดเด่นตรงความอุ่น นุ่ม เหมาะสวมใส่ในช่วงฤดูหนาว หรือผู้ซึ่งทำงานภายใต้อุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ โดยวัตถุดิบทั้ง 2 ชนิดนี้ คุณรัญชนาสั่งซื้อจากผู้ผลิตทางแถบภาคเหนือ กับราคาขาย ถ้าเป็นเส้นฝ้ายตกกิโลกรัมละเกือบ 1,000 บาท สำหรับใยกันชงราคาพอๆ กับไนล่อนฟอกนิ่ม

คุณรัญชนา ว่า เส้นด้าย 1 กิโลกรัมสามารถผลิตรองเท้าได้ไม่ต่ำกว่า 1 คู่ ส่วนวัตถุดิบต่อมา ส้นพร้อมพื้นรองเท้า สินค้านำเข้าจากประเทศจีน แต่หาซื้อได้กับร้านตัวแทนจำหน่ายย่านวงเวียนใหญ่ “เรื่องของรูปแบบต้องเข้ากับลักษณะรองเท้า ความคงทนสำคัญมาก ส่วนความสูงกำหนดไว้ 2-2.5 นิ้ว เวลาเดินรู้สึกสบายไม่เมื่อยเท้า เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายหลักวัยทำงาน ที่คาดการณ์อายุไว้ 30 ปีขึ้นไป

ต่อมาในส่วนของอุปกรณ์ ได้แก่ เข็มถักโครเชต์ กาว อุปกรณ์ตกแต่ง อาทิ ลูกปัด ผ้าลูกไม้ ขนนก หาซื้อจากร้านจำหน่ายย่านสำเพ็ง พาหุรัด

คุณรัญชนา ว่า เบ็ดเสร็จเงินลงทุนก้อนแรกเกือบ 100,000 บาท โดยต้นทุนหลัก ได้แก่ ค่าแรงงานผลิต ซึ่งหากจะให้ธุรกิจนี้ขับเคลื่อนด้วยดี ควรมีทุนหมุนเวียน ไว้รองรับในส่วนของค่าแรง และการจับจ่ายวัตถุดิบต่างๆ ซึ่งคุณรัญชนา ต้องจัดส่งไปให้กลุ่มผู้ผลิตครบถ้วน

“บู๊ตของ Red Carpet Shoes มีทั้งแบบหัวแหลม เหมาะกับผู้หญิงรูปเท้าเล็กเรียว สไตล์การแต่งตัวออกแนวเปรี้ยวเฉี่ยว ส่วนหัวตัดเหมาะกับผู้มีลักษณะปลายเท้ากว้าง โดยขนาดนั้นมีให้เลือกตั้งแต่ 35-40 นิ้ว แต่ขนาดเท้าคนไทย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก 37-38 นิ้ว

ในส่วนของอุปกรณ์ตกแต่ง เหมือนเป็นลูกเล่น สนุกกับการสวมใส่ เสริมความโดดเด่น อย่างถ้าต้องการไปงานปาร์ตี้กลางคืน เครื่องประดับประเภทคริสตัล ลูกปัด ขนนก เสริมความหรูหราได้ แต่หากในวันปกติ สามารถถอดออกเพื่อให้บู๊ตดูเรียบร้อยเข้ากับสถานการณ์”

ออกงานแสดงสินค้า

รายได้มา ลูกค้าเกิด

ถามถึงตลาดจัดจำหน่าย คุณรัญชนา ว่า ได้รับโอกาสอันดีจากหน่วยงานราชการหลายแห่งส่งเสริมสนับสนุนพาออกงานแสดง สินค้า โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องด้วย Red Carpet Shoes เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งออกงานแต่ละครั้งสามารถสร้างรายได้จากยอดขายปลีกราวหลักแสนบาท ส่วนผลกำไรประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

“เมื่อก่อนติดต่อขอเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า ค้าขายอยู่นานหลายเดือน สินค้าเริ่มเป็นที่รู้จัก แต่ปัจจุบันหันมาเน้นออกงานแสดงสินค้า โดยเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง นอกจากรับรายได้จากยอดขายปลีกในวันงานแล้ว สิ่งตามมาคือ ลูกค้าขาประจำ โทรศัพท์จับจองสินค้าต่อเนื่อง เกิดการบอกต่อ กับอีกวิธีหนึ่งคือ เปิดเว็บไซต์ ลูกค้าสะดวกสามารถคลิกจับจองได้ทันทีกับราคาขายคู่ละ 2,900 บาท และยินดีจัดส่งฟรี ทั่วพื้นที่ภายในประเทศไทย”

คุณรัญชนา กล่าวถึงโอกาสในการค้าขายรองเท้าบู๊ตถักโครเชต์ว่า สิ่งสำคัญคือความต่างของผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนใคร และเท่าที่สำรวจตลาดยังไม่พบสินค้ารูปแบบเดียวกัน อาจเพราะความละเอียดพิถีพิถันในขั้นตอนผลิต จนยากจะลอกเลียน แต่กระนั้นเพื่อความไม่ประมาท การจดลิขสิทธิ์รูปแบบ ถือเป็นวิธีป้องกันคู่แข่งขันได้อีกทางหนึ่ง

แม้ Red Carpet Shoes เป็นหนึ่งเดียวกับตลาดสินค้ารองเท้าบู๊ตดังกล่าวมา แต่กระนั้นหากให้ยอดขายขยับ มีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง การปรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งไม่เคยมองข้าม อีกทั้งยังมองปัญหาพร้อมแก้ไข เพื่อให้ผู้สวมใส่เกิดความมั่นใจในยี่ห้อ

“เมื่อก่อนวางตำแหน่งเชือกร้อยรองเท้าไว้ด้านนอก พอถึงคราวจะผูก ต้องเอี้ยวตัว ไม่ถนัด จึงปรับตำแหน่งไว้ด้านในแทน พอใส่รองเท้าเสร็จ ไขว้ขาขึ้นมาลักษณะไขว่ห้าง เท่านี้สามารถผูกเชือกร้อยรองเท้าได้อย่างง่ายดาย ปัญหาอีกอย่างหนึ่งมันอยู่ตรงความสวยหรูหรา ลูกค้าไม่กล้าใส่ ตรงนี้ผู้ขายซึ่งก็คือตัวดิฉันเอง จะให้คำแนะนำ ลองหยิบยื่นให้สวมใส่ดูก่อน เพราะถ้าไม่ชอบความหวือหวา สามารถตัดอุปกรณ์ตกแต่งออกได้ เมื่อลูกค้าลองแล้ว เห็นว่าสบายเท้า ต่างยินดีควักกระเป๋าเพื่อจับจอง โดยโทนสีขายดี ได้แก่ ดำ น้ำตาล และเทา”

ถามถึงอนาคตกับผลิตภัณฑ์ภายใต้ยี่ห้อ Red Carpet Shoes เจ้าของผู้ผลิตจำหน่าย ว่า หากโอกาสและสถานที่อำนวย คาดว่าจะเปิดหน้าร้าน กับรูปแบบการขายมิใช่แค่ค้าปลีก โดยกลุ่มเป้าหมายหวังขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ คงต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของกำลังคน และทุนทรัพย์

สำหรับผู้ชื่นชอบแต่งกายทันสมัย Red Carpet Shoes เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเครื่องแต่งกายประเภทรองเท้า ติดต่อได้ที่ 49/316 สุขุมวิท 103 บางนา กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 747-7649, (086) 980-1384 หรือคลิก www.redcarpetshoes.net

ที่มา : thaismefranchise

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Bakery I do

ร้าน ขนมเค้กเบเกอรี่โฮมเมดเป็นอีกหนึ่งธุรกิจยอดฮิตในฝันของใครหลายคน ทุกวันนี้จึงมีเปิดใหม่แทบทุกแห่ง ทั้งร้านจากฝีมือคนรุ่นใหม่ นักธุรกิจรุ่นใหญ่ หรือแม้กระทั่ง มนุษย์เงินเดือนที่หันเหเส้นทางอาชีพ
เนื่องจากมีตัวเลือกมาก ร้านที่จะประสบความสำเร็จ ต้องมีความโดดเด่นซึ่งลูกค้าสัมผัสได้ อย่างในรายของ ‘Bakery I do’ ร้านเล็กๆ ใน ซ.11 ถ.พระรามเก้า 43 เลือกวางตำแหน่งของร้านอย่างเหมาะสม ด้วยระบบจัดการที่ง่ายแต่ใช้ได้ผล มีกลุ่มลูกค้าชัดเจน และบริการตรงใจทั้งเสิร์ฟในร้าน และเดลิเวอร์รี่ บนพื้นฐานสินค้าคุณภาพ ช่วยให้ร้านเล็กๆ แห่งนี้ เป็นต้นแบบของร้านเบเกอรี่โฮมเมดที่สนใจ

ณัฏฐิรา นาคบัว

ร้าน Bakery I do เปิดมาประมาณ 2 ปีกว่า จากความตั้งใจอย่างแท้จริงของ “ณัฏฐิรา นาคบัว” อดีตบัณฑิตลูกแม่โดม
เธอ เล่าว่า เป็นคนรักการทำอาหารมาก นอกจากนั้น ครอบครัวก็มีพื้นฐานธุรกิจร้านอาหารอยู่ด้วย ส่วนตัวจึงมีความฝันอยากเปิดร้านขายอาหาร และเบเกอรี่มาตั้งแต่เด็กๆ ตอนเรียนมหาวิทยาลัยเริ่มทำขนมส่งขายแล้ว หลังเรียนจบ จึงเปิดร้านของตัวเอง ย่านอโศก
ทว่า เนื่องจากเป็นมือใหม่ในทุกด้าน ร้านไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อย สิ่งที่ทำให้เชื่อมั่นว่า สามารถทำธุรกิจนี้ได้ดี คือ ลูกค้าแทบทุกรายที่ได้ชิมฝีมือต่างชื่นชอบ ดังนั้น แม้ร้านต้องปิดตัวลง แต่ก็บอกตัวเองเสมอจะต้องกลับมามีร้านใหม่อีกครั้ง
จากความมุ่งมั่นนี้ ณัฏฐิราตัดสินใจไปอยู่ประเทศสหรัฐฯ กว่า 5 ปี เพื่อศึกษาต่อ พร้อมกับทำงานในร้านอาหารควบคู่กันไป เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านบริหารร้าน และฝึกฝนสูตรอาหารต่างๆ รวมถึงสะสมทุนเพื่อกลับมาเปิดร้าน
หลังกลับมาเมืองไทย โจทย์ข้อแรกเพื่อเปิดร้าน ณัฎฐิราต้องตัดสินใจเลือกระหว่างจะลง ทุนสูง โดยเช่าพื้นที่เปิดร้านบนทำเลทอง ตกแต่งหรู เน้นลูกค้าตลาดบน และหวังกำลังซื้อปริมาณสูง กับเลือกจะใช้หน้าบ้านตัวเองมาประยุกต์เป็นร้าน ตกแต่งแค่เหมาะสม โดยใช้เงินลงทุนไม่มาก ซึ่งยอดขายก็อาจไม่สูงนัก

หน้าร้าน ‘Bakery I do’

คำตอบ เธอเลือกจะเปิดที่หน้าบ้านตัวเอง ซึ่งอยู่ในซอยเล็กๆ ห่างจากถนนใหญ่กว่า 500 เมตร
“สิ่ง ที่คำนึงคือ เราดูศักยภาพของตัวเอง ซึ่งยังมีประสบการณ์น้อย การลงทุนแบบพอประมาณ อย่างน้อยจะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง อีกทั้ง เชื่อว่า มีฐานลูกค้าเดิมที่ติดใจฝีมือ จะสั่งออเดอร์เข้ามาแล้วให้ส่งในแบบเดลิเวอร์รี่ ดังนั้น ความสำคัญของร้านจึงเป็นจุดทำ และรับ-ส่งสินค้า ช่วยให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่น”

เมนูอาหารกล่อง ราคาส่งกล่องละ 60 บาท

นอกจากนั้น เพื่อให้แตกต่างจากร้านเบเกอรี่ทั่วไป พยายามหันมาให้ความสำคัญกับเมนูคอฟฟี่เบรก เพิ่มเติมด้วยเครื่องดื่มกาแฟ และมีอาหารตามสั่งต่างๆ เพื่อรองรับลูกค้าพนักงานบริษัท
ณัฏฐิราเล่าว่าใช้ทุนเปิดร้านอยู่แค่หลักหมื่นบาท เพราะอุปกรณ์ประกอบครัวต่างๆ ทางบ้าน ซึ่งมีพื้นฐานธุรกิจอาหารมีพร้อมอยู่แล้ว ส่วนการตกแต่งร้านเน้นสบาย ง่ายๆ ดูเป็นมิตรกับลูกค้า ไม่ต้องหรูหราจนเกินไป ป้องกันปัญหาลูกค้าไม่กล้าเข้าร้าน เพราะกลัวแพง

เนื่องจากลูกค้าหลักวางไว้ที่ระดับกลาง ราคาตั้งให้เหมาะสม ไม่หวังกำไรเกินควรพยายามให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป โดยอาหารจานเดียวอยู่ที่ 25-35 บาท เครื่องดื่ม 10-35 บาท และขนมเค้กเบเกอรี่ 15-55 บาท เคล็ดลับสำคัญต้องให้ลูกค้าติดใจตั้งแต่ครั้งแรก จากทั้งหน้าตาภายนอก และรสชาติอาหาร แล้วกลับมาอีกเรื่อยๆ รวมถึง ให้เกิดกระแสบอกต่อ
“ร้าน นี้เกิดได้ เพราะการบอกปากต่อปากจริงๆ เพราะเราไม่ได้โปรโมทอะไรมาก วันเปิดร้านแค่ถ่ายเอกสารแจกรอบๆ บริเวณร้าน แต่หลังลูกค้าได้ลองชิม ก็ให้บอกต่อกัน มีดารานักแสดงที่เคยมาชิมก็ไปพูดต่อ หรือในเว็บ PANTIP ก็ยังมีเข้าไปพูดถึง ทำให้มีลูกค้าที่อยู่ไกลๆ เข้ามา รวมถึง ได้ออเดอร์ภายนอกอย่างต่อเนื่อง”

จากร้านที่อยู่ในซอย มีลูกค้าแค่คนบริเวณใกล้เคียง ขยายสู่ลูกค้าภายนอกเดินทางเข้ามาลิ้มชิมอาหารแล้วนำไปบอกต่อ ขณะที่การสั่งออเดอร์ ขยายจากออฟฟิศบริเวณใกล้ๆ ร้าน ก็ออกไปอย่างกว้างขวาง หลายรายสืบเสาะหาเข้ามาเอง ตามเบอร์โทรศัพท์ที่อยู่ในสติ๊กเกอร์บนกล่องขนม
จุดเด่นอาหารของ Bakery I do ณัฏฐิรา ระบุว่า คือ ความ สดใหม่ ทำวันต่อวัน วัตถุดิบต่างๆ ซื้อด้วยตัวเองทุกเช้า ใช้ของมีคุณภาพ เช่น เลือกใช้ผักปลอดสารพิษปรุงอาหารทุกเมนู ขณะที่หน้าตาอาหารต้องให้ลูกค้าประทับใจตั้งแต่แรกเห็น

“สูตรอาหารต่างๆ มันเป็นสูตรที่คุณแม่เคยทำให้เรากินตั้งแต่เด็ก เมื่อมีร้านอาหาร ก็คิดเสมอว่า ลูกค้าต้องได้กินอย่างที่เรากิน ดังนั้น ต้องอร่อยและดีที่สุด ซึ่งต้องแลกความทุ่มเทเป็นพิเศษ เช่น ต้องส่งออเดอร์ตอน 6 โมงเช้า เราต้องลุกมาทำตอนตี 4 แทนที่ทำทิ้งค้างคืนไว้”

นอกจากนั้น ณัฏฐิรา นำประสบการณ์ที่เคยทำงานร้านอาหารที่ต่างแดน มาประยุกต์ใช้ อย่างกรณีปรุงอาหารให้เสิร์ฟได้รวดเร็วช่วงกลางวัน หรือต้องทำออเดอร์จำนวนมากๆ การปรุงรสจะผสมเครื่องปรุงต่างๆไว้ด้วยกันเป็นน้ำซอสสำเร็จรูป ซึ่งวิธีนี้ นอกจากจะทำให้ปรุงอาหารได้รวดเร็วขึ้น ยังช่วยกำหนดรสชาติให้สม่ำเสมอทุกจาน
ส่วนการผลิต จะไม่ทำเสร็จจำนวนมากๆ แล้วรอให้ลูกค้ามาเลือกซื้อ หน้าร้านจะมีเค้กหรือขนมปังแค่เพียงพอบริการกินในร้านเท่านั้น แต่เมื่อมีออเดอร์ภายนอกสั่งเข้ามา ก็พร้อมจะทำให้เสร็จได้ในเวลา 2-3 ชั่วโมง ซึ่งวิธีนี้ ช่วยตัดปัญหาต้นทุนจม ขณะเดียวกัน ลูกค้าได้ของที่สดใหม่

ข้าวผัดอเมริกัน หนึ่งในเมนูของร้าน

ในส่วนการทำสั่งตามออเดอร์นั้น กลุ่มลูกค้าหลักจะสั่งไปใช้งานสัมมนา และจัดเลี้ยงต่างๆ โดยเมนูเบเกอรี่มีให้เหลือหลายสิบรายการ เมนูยอดฮิต เช่น เค้กชอกโกแลก เป็นต้น ส่วนอาหารกล่องสำเร็จรูป ขายในราคา 60 บาท/ชุด (รวมค่าขนส่ง) เน้นตกแต่งสวยงาม น่ากิน มีให้เลือกกว่า 20 รายการ เช่น ข้าวผัดอเมริกัน ข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ ข้าวหน้าหมูเกาหลี สปาเก็ตตี้ซอสไก่ เป็นต้น
ทั้งนี้ การคุมต้นทุนถือเป็นหัวใจของธุรกิจร้านอาหารนั้น ณัฏฐิราเผยว่า ทุกวันนี้ยังต้องลงมือดูแลด้วยตัวเองเกือบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหาร ซื้อวัสดุดิบ ไปถึงส่งสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่หนักและเหนื่อย แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ธุรกิจเล็กๆ ต้องยอมแลก

บรรยากาศภายในร้าน

ทุกวันนี้ ร้าน Bakery I do มีสัดส่วนรายได้จากหน้าร้านประมาณ 40% ส่วนยอดทำตามออเดอร์ 60% ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลยอดสั่งจะเพิ่มสูงขึ้น 3 เท่าตัว ถึงขนาดทำกันไม่ทัน เคยรับทำชุดคอฟฟี่เบรกสูงสุดกว่า 3,000 ชุด
เทียบ ความสำเร็จของร้าน ซึ่งเป็นธุรกิจเล็กๆ ในครัวเรือน มีพนักงานแค่ไม่กี่คน กับผลตอบรับที่กลับมานั้น ณัฏฐิรา และร้าน Bakery I do ของเธอ เป็นอีกหนึ่งกิจการที่น่าชื่นชมไม่น้อย



ที่มา : ผู้จัดการ

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โปรแกรมอบรมวิชาชีพ ของเดือนธันวาคมนี้

เอาคอร์สฝึกอบรมวิชาชีพที่จัดโดยศูนย์มติชนมาฝากค่ะ

วันที่ วิชา ค่าอบรม (บาท)
06 ธ.ค. 2552
_ ปาท่องโก๋ สัขยา และน้ำเต้าหู้ 10 เครื่อง (สูตรโซ้ยตี๋-ตลาดคลองขวาง) 2,675
_ ไก่ย่างสายลม สูตรเชลล์ชวนชิม (แถมคอหมูย่าง+แจ๋ว+ป่อเปี๊ยะสด) 2,140
_ แซนด์วิช 5 ไส้ (ไก่ ทูน่า ปูอัด ฯลฯ)+วอฟเฟิลเนยสด (ลูกเกด ข้าวโพด ไส้กรอก-อ.บัณฑวรรณ) 2,140
_ ธุรกิจกาแฟสดสไตล์คนรุ่นใหม่ (COFFEE MAKER) 1,605
_ ข้าวหมกไก่เมืองทอง (สูตรทำง่ายขายดีในโรงเรียน-อ.อดุลย์โรจน์) 1,605
_ ก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋น ซุปเปอร์ขาไก่ (อ.วงเดือน) 1,605
_ กรอบรูปไม้และการเปิดร้าน (กรอบ 2 ชั้นและการพัฒนารูปแบบ) 1,605
_ ช่างกุญแจและการเปิดร้าน (2 วัน) -
_ การจัดดอกไม้ขั้นพื้นฐานและนอกสถานที่ในโอกาสต่างๆ (2 วัน) (วันที่2/ซุ้มแต่งงาน เข็มขัดติดเสื้อ โบว์เดี่ยว ดอกไม้หน้าศพ พวงหรีด) -

12 ธ.ค. 2552
_ ช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือและการเปิดร้าน (2 วัน) 2,675
_ กระจกโครงอะลูมิเนียม (2 วัน) 2,675
_ เปี๊ยะปีใหม่+เปี๊ยะไทยไส้ถั่วอบควันเทียน+เปี๊ยะชาววัง+เปี๊ยะจีน (อ.บัณฑวรรณ) 2,140
_ โจ๊กฮ่องกงและโจ๊กหมู (สูตรเจ๊ดา) 1,605
_ หมูและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหมู (ลูกชิ้นหมู ไส้อั่ว ไส้กรอกอีสาน) 1,605
_ ส้มตำไฮโซและการเปิดร้าน (10 รายการ-ร้านครัววงดือน) 1,605
_ ลอดช่องสิงคโปร์และทับทิมกรอบ (สูตรการค้า-อ.นิรันดร์) 1,605
_ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น เนื้อตุ๋น ซี่โครงหมูตุ๋นเมืองทอง 1,605
_ การจัดสวนถาดแบบธรรมชาติและไม้มงคล (อ.เสาวลักษณ์) 1,605
13 ธ.ค. 2552
_ แกงเผ็ด ผักหวาน ไข่มดแดง แกงเลียงกุ้งสด (สูตรขายดีที่ตลาดถนอมมิตร วัชรพล) 1,605
_ หมูและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหมู 2 (หยูยอ แหนม หมูเด้ง) 1,605
_ ข้าวเหนียวมูน (หน้าปลา-กุ้ง-สังขยา/ร้านคุณพะเยาว์-นนทบุรี) 1,605
_ ขนมเบื้องชาววัง 5 ไส้ (ไส้ฝอยทอง หน้ากุ้ง เผือก ลูกเกด สังขยาใบเตย) 1,605
_ ก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ (สูตรประชานิยม-อ.พันธ์) 1,605
_ กล้วยปิ้งสูตรผสมน้ำผึ้ง (ชาววัง) 1,605
_ กาแฟโบราณและเครื่องดื่มที่เกี่ยวข้อง (ร้านอั๋งหมวยกาแฟโบราณ) 1,284
_ ช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือและการเปิดร้าน (2 วัน) -
_ กระจกโครงอะลูมิเนียม (2 วัน) -
19 ธ.ค. 2552
_ ผ้าม่านและการเปิดร้าน (แถมวอลเปเปอร์และฉากกั้นห้อง), (2 วัน) 3,210
_ น้ำพริกกระปุก 8 รายการ (ครูตุ๊ก-น้ำพริกตาแดง แมงดา ปลากรอบ มะขาม ฯลฯ) 2,140
_ เหล้าปั่นและน้ำผลไม้ปั่นสมูธตี้ (แถมน้ำอัดลมโบราณ) 1,605
_ เย็นตาโฟสูตรโบราณและต้มยำมะนาว (ร้านกะลานู้ดเดิ้ล) 1,605
_ เทคนิคการอัดกรอบพระและทำป้ายพลาสติคเบื้องต้น 1,605
_ หมูเส้นยุวนิจ (แถมสูตรหมูฝอยและหมูสวรรค์) 1,605
_ ประดิษฐ์ของชำร่วยจากเรซิ่นและพิมพ์ยางเบื้องต้น 1,605
_ การทำเส้นบะหมี่ หมูแดง พร้อมน้ำราดรสเด็ด 1,605
_ กล้วยแขก-ข้ามเม่า-ซาลาเปาทอด (แถมไข่นกกะทา) 1,605
20 ธ.ค. 2552
_ ซาลาเปาทอดน้ำ (สูตรประยุกต์/แป้งนุ่ม) 2,140
_ ไอศกรีมชาวบ้าน (กะทิสด มะพร้าวอ่อน รวมมิตร ฯลฯ) 1,605
_ ผัดไทยสไตล์แชมป์โลก (สูตรดั้งเดิม 2 สูตร+สูตรประยุกต์ 2 สูตร-อ.พันธ์) 1,605
_ ข้าวมันไก่ฮ่องเต้ (น้ำจิ้มสูตรมหัศจรรย์) 1,605
_ ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยา (สูตรโบราณ) 1,605
_ กาแฟโบราณเชิงบูรณาการ (กาแฟผสมเครื่องดื่มชนิดต่างๆ สูตร อ.เชษฐา) 1,605
_ กะหรี่ปั๊บงาดำ 4 ไส้ (ต้นตำรับโรงเรียนชุมชนวัดดงยาง) 1,605
_ กล้วยปิ้งสูตรผสมน้ำผึ้ง (ชาววัง), (ร้านกล้วยปิ้งแม่ตุ๊ หน้า ธ.ทหารไทย สรงประภา) 1,605
_ โอกาสธุรกิจศูนย์บริการงานด่วน (จุดชำระเงิน-ศูนย์ถ่ายเอกสาร-ป.ณ.เ อกชน) 1,284
_ ผ้าม่านและการเปิดร้าน (แถมวอลเปเปอร์และฉากกั้นห้อง), (2 วัน) -
* ราคาดังกล่าว รวมอุปกรณ์ เอกสารพร้อมบริการอาหารกลางวันและอาหารว่าง

ผู้สนใจ สมัครโดย โทร.จองที่นั่งก่อน และโอนเงิน (ตามจำนวนที่ระบุท้ายวิชา)
เข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยประชานิเวศน์ 1 เลขที่บัญชี 737-2-13905-0
(ส่งหลักฐานการโอน พร้อมระบุให้ชัดเจนว่า เรียนวิชาอะไร วันไหน แฟกซ์ 0-2580-4030)
หรือสอบถามรายละเอียดที่ คุณณัฐสมน
โทร.02-589-2222, 02-589-0492, 02-954-4999 ต่อ 2100, 2101, 2102, 2103
(จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.) หรือ อีเมล์มาที่ techno@matichon.co.th
แต่ละวิชา อบรมวันเดียวจบ (09.00-16.00น.) สถานที่เรียน ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน บริเวณ สนง.ข่าวสด ย่านประชานิเวศน์ 1

ที่มา : มติชน

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Justin Bieber, Gold Price in India